คำสมาส
คำสมาส คือ การนำคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตมารวมกับคำบาลีสันสกฤตแล้วเกิดความหมายใหม่ แต่ยังคงเค้าความหมายเดิมมีลักษณะดังนี้
๑.เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากบา และสันสกฤตเท่านั้น เช่น สุขศึกษา
อักษรศาสตร์ สังคมศาสตร์ อุดมศึกษา
๒.อ่านออกเสียงสระระหว่างคำที่สมาสกัน เช่น
รัฐ + ศาสตร์ = รัฐศาสตร์ อ่าน รัด – ถะ – สาด
พืช + มงคล = พืชมงคล อ่าน พืด – ชะ - มง – คน
๓.แปลจากหลังมาหน้า เช่น
ราชโอรส หมายถึง ลูกชายพระราชา
กาฬพักตร์ หมายถึง หน้าดำ
วรรณคดี หมายถึง เรื่องราวของหนังสือ

สิทธิ์ + บัตร เป็น สิทธิบัตร
ไปรษณีย์ + บัตร เป็น ไปรษณียบัตร
สวัสดิ์ + ภาพ เป็น สวัสดิภาพ
สัตว์ + ศาสตร์ เป็น สัตวศาสตร์
๕.คำว่า “พระ” (แผลงมาจาก “วร”) นำหน้าคำที่มาจากบาลีสันสกฤต เช่น
พระสงฆ์ พระเนตร พระบาท พระราชวงศ์
www.kr.ac.th/ebook2/sanan_p/03.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น